เส้นทางมุมไบ อชันต้า แอลโลล่า

ถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่า

มรดกโลกของอินเดีย

ที่สลักโดยฝีมือมนุษย์ด้วยเครื่องมือพื้นๆเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว

แต่ผลงานที่ได้ออกมา สุดแสนสวยงามและมีคุณค่าสูงส่ง

ปานประหนึ่งเนรมิตโดยเทวดาจากสวรรค์ชั้นพรหม

ถ้ำอชันต้าและถ้ำเอลโลล่า อยู่ที่ไหน?

ถ้ำอชันต้าและถ้ำเอลโลล่า อยู่ที่เมืองออรังคบัด รัฐมหาราษฏร์ ของประเทศอินเดีย เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศการเดินทาง สามารถเดินทางจากประเทศไทย โดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯไปลงที่เมืองมุมไบ หรือเมืองบอมเบย์ในอดีต ก็คือเมืองเดียวกันนั่นแหละ แล้วต่อเครื่องบินภายในประเทศไปลงที่เมืองออรังคบัด ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมุมไบขึ้นไปอีกประมาณ 400 กิโลเมตร นั่งเครื่องบินประมาณ 35นาทีก็ถึง หรือใครต้องการบินจากกรุงเทพฯ ไปที่นิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียแล้วต่อเครื่องบินภายในประเทศไปลงที่เมืองออรังคบัด ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงนิวเดลีก็ได้ ใช้เวลาบินประมาณ 2 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว แต่ถ้าจะไปชมถ้ำอชันต้า ก็จะต้องนั่งรถต่อไปอีกประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วไปต่อรถบัสที่ทางรัฐบาลท้องถิ่นคล้ายๆ อบตของเรานั่นแหละ เขาจัดไว้บริการ นั่งต่อไปอีก 15นาที เสียค่ารถคนละ 25รูปี  กลับอีก25 รูปี ไปกลับคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 30 บาท แต่ถ้าจะไปชม ถ้ำเอลโลล่า ก็อยู่ใกล้เมืองใครเป็นคนสร้างถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่า?

ความจริงแล้ว แม้ถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่าตั้งอยู่ห่างกันเกือบ 100 กิโลเมตรก็ตาม แต่ในทางทฤษฏีแล้ว ถือว่าทั้งสองถ้ำสร้างมาจากคติความเชื่อเดียวกัน และสร้างในระยะเวลาร่วมสมัยกัน ถ้าหากท่านเคยไปชมทั้ง 2 ถ้ำมาแล้ว ก็จะเห็นด้วยตาตัวเอง แต่ท่านที่ยังไม่เคยไปชมก็จะสามารถดูภาพประกอบในเรื่องที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ ว่าทั้งสองถ้ำนี้ สร้างขึ้นมาเพื่อความศรัทธาทางศาสนา 3 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และ ศาสนาเชน ที่ถ้ำอชันต้าทั้ง 30 ถ้ำล้วนสร้างตามคติความเชื่อในทางศาสนาพุทธทั้ง 30 ถ้ำล้วนๆ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ สร้างตามคติของนิกายพุทธหินยาน ส่วนหนึ่งคือถ้ำหมายเลข8,9,10,12,13,15 ส่วนที่เหลือสร้างตามคติพุทธมหายาน ส่วนที่ถ้ำเอลโลล่านั้น 34 ถ้ำ แบ่งเป็น 3 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และ ศาสนาเชน ทั้งสองแห่งคือถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่า สร้างโดยช่างฝีมือชั้นครู โดยการอุปถัมภ์ของกษัตริย์และเสนาบดีระดับสูงในสมัยนั้นๆ และอาจจะมีการร่วมแรงร่วมใจของศาสนิกชนที่นับถือศาสนานั้นๆผสมโรงด้วย แต่ไม่ใช่สร้างโดยพระภิกษุหรือนักบวชของทั้ง 3 ศาสนาแน่นอน เพราะว่าพระภิกษุและนักบวชเหล่านั้นต้องการปลีกวิเวก ไม่ได้ต้องการสร้างสิ่งที่เป็นกิเลสและความวุ่นวาย อีกอย่างหนึ่ง ผลงานที่ปรากฏหลงเหลือให้เราเห็นนั้น มาจากช่างที่มีฝีมือดีมากระดับชั้นครู ซึ่งพระและนักบวชคงไม่สามารถทำได้ออรังคบัดเข้ามาอีกนิดหนึ่ง ประมาณ 40 กิโลเมตรไปทางเหนือ ใช้เวลาเดินทางประมาณเกือบๆหนึ่งชั่วโมง รถสามารถจอดหน้าถ้ำได้เลย 

ถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่าบอกเรื่องราวอะไรบ้าง?

นอกจากความสวยงาม ความประณีตบรรจงในการแกะสลักรูปประติมากรรม และภาพเขียนสีต่างๆในทั้งสองถ้ำแล้ว ประติมากรรมและภาพเขียนสีต่างเหล่านั้น ยังสามารถเล่าเรื่องราวให้เราได้รู้ความเป็นไปในชีวิตประจำวันของผู้คนสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ยกตัวอย่างเช่น รูปผู้ชายใส่ถุงเท้าสีฟ้าสดใส กับอีกคนใส่ถุงเท้าสีชาวนั่งคุยกันที่ถ้ำหมายเลข 2 ถ้ำอชันต้าเป็นต้นแสดงให้เห็นว่า คนอินเดียสมัยนั้นมีการสวมถุงเท้ากันแล้ว และผู้ชายสองคนนั้น ก็ใส่ตุ้มหูด้วย นั่นก็บอกเราได้อีกว่าผู้ชายอินเดียสมัยนั้นใส่ตุ้มหู แล้วเรายังได้เห็นการสวมใส่สร้อยคอ  และเข็มขัดของผู้หญิงสมัยนั้นอีกด้วย นอกจากนั้น เรายังได้เห็นรูปแกะสลักรูปพระพุทธเจ้าในท่ายืน ซึ่งสลักตามศิลปะแบบเมืองมถุรา ศิลปะแบบนี้นิยมกันทางภาคเหนือของอินเดียแต่จะคล้ายกับศิลปะแบบอมราวดีทางภาคใต้ของอินเดีย คือนิยมที่จะสลักหรือวาดรูปพระพุทธเจ้าให้มีจีวรบางแนบเนื้อ ทำให้เห็นกล้ามเนื้อข้างในชัดเจนบางรูปจะสลักให้เห็นองคชาติ โดยสลักให้เห็นปลายองคชาติมีหนังหุ้มและปลายแหลมเหมือนดอกจำปี เพราะช่างต้องการโชว์ให้เห็นลักษณะของมหาบุรุษ เพราะว่าองคชาติที่มีหนังหุ้มปลายและปลายแหลมเหมือนดอกจำปีนั้น เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษ ผู้ซึ่งจะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธรูปแบบนี้ สกุลช่างแบบมถุรานี้ เราไม่ค่อยพบเห็นในเมืองไทยเราเลย

ถ้ำที่มีลักษณะคล้ายถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่า มีพบที่ไหนบ้าง?

ลักษณะถ้ำที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนา และเจาะภูเขาหินตันทั้งลูกให้ออกมาเป็นห้องหับ และรูปสลักภาพเขียน เสาและผนังเรียงรายต่อกันเป็นชิ้นเดียว โดยมิได้นำหินจากที่อื่นมาต่อเติมแบบนี้ ในอินเดียพบอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศ และนอกจากนี้ ก็ยังพบในประเทศจีนอีกหลายแห่ง ซึ่งเชื่อกันว่า ได้มีการนำช่างจากอินเดียไปสร้างในเมืองจีน แต่ว่าเมื่อเทียบอายุแล้ว ถ้ำที่อชันต้า อายุจะเก่าแก่กว่า คือ เริ่มสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงนับถือศาสนาพุทธ และสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ศาสนาพุทธอย่างกว้างขวางทั้งในชมภูทวีปและต่างประเทศ

ถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่า คุ้มค่าที่จะไปชมหรือไม่?

ถ้าหากท่านเป็นนักท่องเที่ยวและยังมิได้คำนึงถึงความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ หรือฮินดู หรือศาสนาเชนก็ตาม ถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่าคือแหล่งท่องเที่ยว หรือสถานที่ ที่จะต้องไปชมให้ได้ เพราะถ้าเทียบกับนครวัดของเขมรหรือ ปีรามิดของอียิปต์ ผมคิดว่า ถ้ำอชันต้า และถ้ำเอลโลล่าสร้างยากกว่า เพราะเจาะจากภูเขาหินตันทั้งลูกให้มีทั้งเสา เพดาน พื้นแล้วยังรูปแกะสลักประดับตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะรูปสลักที่เป็นรูปประธานของห้องนั้นๆ ไม่ต้องพูดถึงฝีมือเยี่ยมยอดสูงยิ่งอยู่แล้วแต่ความยากคือ ทุกชิ้น เป็นเนื้อเดียวกันไม่มีการต่อเติมเลย


เขียนโดย นายอินเตอร์


คอลัมน์นิสต์นิตยสารเช็คทัวร์


CheckTour Magazine


 


ขอบคุณนิตยสารเช็คทัวร์ สำหรับบทความที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่


 


 ออกเดินทางได้ทุกวันแบบแพคเก็จทัวร์เริ่มที่ 2 ท่านขึ้นไป

 

แบบฟอร์มการจองทัวร์